รายงานการวิจัยโดยดานีลา จี.แอล. เทอร์สัน เด เพลวิลล์ และซูซาน เจ. ฮาร์เคมา ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 กล่าวว่า การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทร่วมกับการฝึกการเคลื่อนไหวจะช่วยให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังส่วนคอ หรือส่วนอกชนิดที่ระบบประสาทสั่งการสูญเสียการทำงานแบบสมบูรณ์ มีสัดส่วนองค์ประกอบของร่างกายสมดุลขึ้น
การบาดเจ็บที่ไขสันหลังจะขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางจนทำให้เกิดความบกพร่องและความเสื่อม หรือทำให้กล้ามเนื้อค่อย ๆ เสื่อมลง เมื่อคนไข้ควบคุมระบบประสาทสั่งการได้น้อยลง และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จะทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นและมวลกล้ามเนื้อลดลง รายงานฉบับดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า คนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังมีโอกาสป่วยเป็นโรคระบบการเผาผลาญบกพร่อง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน มากกว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังชนิดที่ระบบประสาทสั่งการยังทำงานได้บางส่วน การบาดเจ็บที่ไขสันหลังชนิดที่ระบบประสาทสั่งการสูญเสียการทำงานแบบสมบูรณ์ หมายถึง การที่คนไข้ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกใด ๆ และระบบประสาทสั่งการสูญเสียการทำงานทั้งหมดใต้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนการบาดเจ็บที่ไขสันหลังชนิดที่ระบบประสาทสั่งการยังทำงานได้บางส่วน หมายถึง คนไข้ยังสามารถควบคุมระบบประสาทสั่งการได้บ้าง และไขสันหลังยังสามารถส่งสัญญาณไปยังสมอง
เมื่อคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังส่วนคอ หรือส่วนอกชนิดที่ระบบประสาทสั่งการสูญเสียการทำงานแบบสมบูรณ์ ได้ฝึกออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและอัตราการเผาผลาญ และลดปริมาณไขมันในร่างกาย ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท จะช่วยให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรงขึ้น และสัดส่วนองค์ประกอบของร่างกายสมดุลขึ้นด้วย ในการวิจัยครั้งนี้ คนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังชนิดที่ระบบประสาทสั่งการสูญเสียการทำงานแบบสมบูรณ์จำนวน 4 รายได้รับการผ่าตัดฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท และฝึกออกกำลังกายแบบพิเศษ จากนั้นจึงเข้ารับการทดสอบความแข็งแรงของหลอดเลือดหัวใจ การทำงานของระบบเผาผลาญ และสัดส่วนองค์ประกอบของร่างกาย โดยคนไข้ได้ฝึกการเคลื่อนไหวทั้งหมด 80 ครั้งแล้วจึงเข้ารับการผ่าตัดฝังอุปกรณ์ที่มีขั้วไฟฟ้า 16 ชิ้นที่บริเวณเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (กระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ L1-กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บข้อที่ S1) เพื่อทำการรักษาโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท หลังจากที่ฝังอุปกรณ์แล้ว คนไข้ได้ฝึกออกกำลังกาย 160 ครั้ง โดยฝึกยืนและก้าวเดินโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท
ผลการทดสอบพบว่า หลังจากที่ฝึกออกกำลังกายแล้ว คนไข้มีสัดส่วนองค์ประกอบร่างกายที่สมดุลขึ้น โดยมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง โดยเฉพาะไขมันที่ร่างกายส่วนบน หรือไขมันรอบบริเวณหน้าท้อง คนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังส่วนคอ หรือส่วนอกชนิดที่ระบบประสาทสั่งการสูญเสียการทำงานแบบสมบูรณ์เหล่านี้มีหลอดเลือดหัวใจแข็งแรงขึ้นโดยรวม และมีสัดส่วนองค์ประกอบของร่างกายสมดุลขึ้นด้วย
การรักษาอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทช่วยให้คนไข้มากมายสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเองอีกครั้ง และมีกำลังในการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น แม้คนไข้เหล่านี้จะเคยได้รับการวินิจฉัยว่าไม่มีโอกาสหายได้ก็ตาม โดยคนไข้จะได้รับการรักษาแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งนับเป็นการรักษาที่ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อพัฒนาสมรรถภาพร่างกายของคนไข้อย่างเต็มที่ เวชศาสตร์ฟื้นฟูสามารถควบคุมปฏิกิริยาโต้ตอบของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อการบาดเจ็บ ตลอดจนแยกความแตกต่างของเซลล์ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเซลล์ประสาทและแอสโทรไซต์ การรักษาด้วยวิธีการนี้ใช้ในการรักษาทางคลินิกสำหรับคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548
คนไข้ยังได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย เพื่อช่วยให้สมองและกล้ามเนื้อทำงานประสานกันจนสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้คนไข้มีกำลังในการเคลื่อนไหว มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น สามารถเคลื่อนไหว และควบคุมการเคลื่อนไหวได้
นอกจากนี้คนไข้ยังได้รับการรักษาเชิงสนับสนุน การบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพ การขับสารพิษ และการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด โดยส่วนใหญ่คนไข้จะได้ทำธาราบำบัดและกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย