Updates Worldwide

Latest Breaking News and Information

การวิจัยพบว่า การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทช่วยให้คนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังระดับ C7 มีอาการดีขึ้น

การรักษาคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท

ไอแซค ดาร์เรล เป็นคนไข้ของยูนีค แอคเซส เมดิคัล ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังระดับ C7 เนื่องจากประสบอุบัติเหตุขณะดำน้ำ เขามักจะหมดสติขณะที่นั่งอยู่บนวีลแชร์ แต่หลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทเมื่อปี พ.ศ. 2559 ทำให้เขาสามารถนั่งได้นานถึง 8 ชั่วโมง หรือออกกำลังกายได้โดยไม่รู้สึกวิงเวียนศีรษะ

ดาร์เรลให้สัมภาษณ์กับวารสาร Neuro Science News. ว่า “ความดันโลหิตของผมอยู่ในช่วงประมาณ 60 กว่า ๆ” บทความดังกล่าวบอกเล่าประสบการณ์ของดาร์เรลเกี่ยวกับการรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท ซึ่งเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าที่ไขสันหลัง ประสบการณ์ดังกล่าวของดาร์เรลได้เป็นกรณีศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Neurology

การรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาททำได้โดยการผ่าตัดไขสันหลังเพื่อฝังอุปกรณ์ที่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปยังไขสันหลัง คนไข้จะได้รับการผ่าตัดเพื่อฝังขั้วไฟฟ้าในตำแหน่งเหนือเยื่อหุ้มไขสันหลัง คนไข้จะใช้รีโมทสำหรับควบคุมอุปกรณ์กระตุ้นกระแสประสาทให้ส่งคลื่นไฟฟ้าไปยังไขสันหลังวันละประมาณ 30-40 นาที ส่วนในกรณีของดาร์เรลจะมีโปรแกรมแบบต่าง ๆ ให้เลือกกระตุ้นเส้นประสาทได้โดยตรง เพื่อช่วยให้ระบบประสาทสั่งการสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปยังไขสันหลังได้

อาการอัมพาตและปัญหาการเคลื่อนไหวในคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

การบาดเจ็บที่ไขสันหลังมักทำให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ และภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ได้แก่ อาการอัมพาต และปัญหาการเคลื่อนไหว

ด็อกเตอร์อังเดร ครัสซิอูคอฟ ให้สัมภาษณ์ในวารสาร Neuro Science News ว่า “ปัญหาการเคลื่อนไหว หรืออาการอัมพาต เป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง แต่การที่ผมทำงานในฐานะแพทย์ทำให้ผมทราบว่าคนไข้มากมายยังทุกข์ทรมานเนื่องจากปัญหาอื่น ๆ ‘ที่มองไม่เห็น’ อีกด้วย” ด็อกเตอร์ครัสซิอูคอฟเป็นหัวหน้าคณะนักวิจัยของ JAMA Neurology โดยได้ติดตามการรักษาดาร์เรลมาเป็นเวลาหลายปี ท่านเป็นศาสตราจารย์สาขาการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย และประธานการวิจัยด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายร่วมกับ ICORD ซึ่งเป็นศูนย์การวิจัยในแวนคูเวอร์ที่เน้นศึกษาเรื่องการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

การฟื้นฟูร่างกายคนไข้

อาการความดันโลหิตต่ำของดาร์เรลมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

บางครั้งผมก็เป็นลมหรือหมดสติในขณะที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ แต่หลังจากที่ผมผ่าตัดฝังอุปกรณ์แล้ว ผมสามารถเปิดเครื่องเพื่อกระตุ้นกระแสประสาท ทำให้ผมไม่เป็นลมหมดสติอีกต่อไป” ดาร์เรลกล่าวกับ Neuro Science News

เขาเล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทแล้ว อาการโดยรวมของเขาดีขึ้นทั้งค่าความดันโลหิต ปริมาณกล้ามเนื้อแกนลำตัว และการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ

นักวิจัยของ ICORD ได้ติดตามผลการรักษาของดาร์เรลและทำการทดสอบเพื่อดูว่าการรักษาได้ผลมากน้อยเพียงใด โดยให้คนไข้อยู่ในท่าหลังตรงเพื่อทดสอบค่าความดันโลหิตว่าคงที่หรือไม่ ด็อกเตอร์ครัสซิอูคอฟได้กล่าวไว้ว่า ตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่ารางกายได้รับการฟื้นฟูก็คือ การที่ความดันโลหิตไม่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว และคนไข้สามารถควบคุมหลอดเลือดในร่างกายส่วนล่างและช่องท้องได้

การรักษาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาท

คนจำนวนมากเชื่อว่าการบาดเจ็บที่ไขสันหลังไม่สามารถรักษาให้หายหรือมีอาการดีขึ้นได้ แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทได้ช่วยให้คนไข้จำนวนมากสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดความเสียหายอย่างถาวรเนื่องจากการบาดเจ็บ

คนไข้ที่รับการรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทยังสามารถเลือกรับการรักษาแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ทันสมัย ซึ่งนับเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง การรักษาวิธีนี้จะสามารถควบคุมปฏิกิริยาโต้ตอบของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อการบาดเจ็บ ตลอดจนแยกความแตกต่างของเซลล์ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเซลล์ประสาทและแอสโทรไซต์ การรักษาด้วยแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้นำมาใช้ในการรักษาทางคลินิกสำหรับคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมและได้ข้อสรุปว่า เวชศาสตร์ฟื้นฟูอาจช่วยฟื้นฟูการทำงานของร่างกายหลังจากที่เกิดการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง โดยเฉพาะในกรณีที่คนไข้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระตุ้นกระแสประสาทควบคู่ไปกับการบำบัดเชิงสนับสนุน เช่น โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายแบบเข้มข้น การรักษาหลายวิธีร่วมกันเช่นนี้จะช่วยฟื้นฟูการรับรู้ความรู้สึก การทำงานของระบบประสาทสั่งการ เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัวและการทำงานประสานกันของร่างกาย ลดอาการปวดที่เส้นประสาท ช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น และขับเหงื่อได้ดีขึ้น การรักษาแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟูยังช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ประสาทขึ้นมาทดแทนเซลล์ประสาทที่ได้รับความเสียหาย เป็นโรค หรือสูญหายไปอีกด้วย

Share this post

Take the First Step To Recovery